วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

สมาชิกของอาเซียน



 ประเทศที่เป็นสมาชิกของอาเซียนในปัจจุบันมีทั้งหมด 10 ประเทศ ดังนี้
1. บรูไร ดารุสซาลาม
เมืองหลวง   บันดาร์เสรี เบกาวัน
ภาษาราชการ     ภาษามาเลย์
สกุลเงิน  ดอลลาร์บรูไน
ระบอบการปกครอง  สมบูรณาญาสิทธิราชย์
2. กัมพูชา
เมืองหลวง   กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ     ภาษาเขมร
สกุลเงิน  เงินเรียล
ระบอบการปกครอง  ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

3.อินโดนีเซีย
เมืองหลวง   จาการ์ตา
ภาษาราชการ     ภาษารูเปียห์
สกุลเงิน  ดอลลาร์บรูไน
ระบอบการปกครอง  ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

4. ลาว
เมืองหลวง   เวียงจันทร์
ภาษาราชการ     ภาษาลาว
สกุลเงิน กีบ
ระบอบการปกครอง  ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

5. มาเลเซีย

เมืองหลวง   กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ     ภาษามาเลย์
สกุลเงิน  ริงกิตมาเลเซีย
ระบอบการปกครอง  ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

6. พม่า

เมืองหลวง   เนปีดอร์
ภาษาราชการ     ภาษาพม่า
สกุลเงิน  จ๊าด
ระบอบการปกครอง  ผด็จการทางทหาร

7. ฟิลิปปินส์
เมืองหลวง   กรุงมะนิลา
ภาษาราชการ     ภาษาฟิลิปิโนและภาษาอังกฤษ
สกุลเงิน  เปโซ
ระบอบการปกครอง  ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

8. สิงคโปร์
เมืองหลวง   สิงคโปร์
ภาษาราชการ     ภาษามาเลย์
สกุลเงิน  ดอลลาร์สิงคโปร์
ระบอบการปกครอง  สาฐารณรัฐ

9. ไทย
เมืองหลวง   กรุงเทพ
ภาษาราชการ     ภาษาไทย
สกุลเงิน  บาท
ระบอบการปกครอง  ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข



 10. เวียดนาม
เมืองหลวง   กรุงฮานอย
ภาษาราชการ     ภาษาเวียดนาม
สกุลเงิน  ด่อง
ระบอบการปกครอง  ระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน

1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศุนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)

2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

ความร่วมมือของสมาชิกในอาเซียน

กฏบัตรอาเซียน  เป็นร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางกรอบทางกฏหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคมทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขับเคลื่อน การรวมตัวเป็นประชาคมภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
     หลักกการ ของกฏบัตรนี้ อยู่บนพื้นฐานของกฏหมายระหว่างประเทศ เช่น การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี สิ่งที่ีเน้นหนักคือ การรวมศูนย์กับความสัมพันธ์กับภายนอก จึงทำให้กฏบัตรนี้เป็นเสาหลักของการสร้างประชาคมอาเซียนและตอกย้ำถึงข้อผูกมัดทางกฏหมายของข้อตกลงอาเซียนต่างๆ
  

กฏบัตรแยกตามเสาหลักที่สำคัญทั้ง 3 เสา อาจสรุปได้ดังนี้
   เสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคงของภูมิภาคอาเซียน เมื่อเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ได้แก่ สนับสนุน ส่งเสริม สันติภาพ ความมั่นคง การปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบธรรมาภิบาล การส่งเสริมให้บรรลุความเจริญร่วมกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ประชาคมเป็นภูมิภาคที่เปิดกว้าง มีพลวัตร และยืดหยุ่นได้ในการตั้งรับภาวะผันผวนของเศรษฐกิจ มีหลักประกันที่จะทำให้เกิดสันติสุขในอาเซียน


   เสาหลักด้านเศรษฐกิจ มีการเน้นมุ่งพัฒนาให้ตลาดร่วม เป็นฐานการผลิตอันเดียวกัน ซึ่งจะต้องมีการไหลเวียนของสินค้า บริการ และการลงทุนและแรงงานฝีมือทั่วทั้งภูมิภาคของประชาคมอาเซียนมีเงินทุนไหลเวียนเสรี และมีสถานะการพัฒนาทางเศรษฐกิจในหมู่สมาชิกประชาคมที่เท่าเทียมกันรวมทั้งเสริมสร้างเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมีเสถียรภาพด้ารการเงิน


   เสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียน   จะพุถ่งเป้าไปที่การทำให้เห็นความสำคัญของประชากรอาเซียน และเป็นสัมพันธภาพระหว่างประชากรของชาติหนึ่งไปสู้ประชากรของอีกชาติหนึ่ง ร่วมมือกันในกิจกรรมต่างๆ สมาชิกของประชาสังคมของสมาชิกจะไปมาหาสู่กันแลกเปลี่ยนใกล้ชิดระหว่างบุคลากรด้ารการศึกาา สถาบันต่างๆ และภาคธุรกิจภาคเอกชนในประเทศสมาชิก รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ของบุคคลชั้นมันสมอง มืออาชีพ ศิลปิน นักเขียนและสื่อสารมวลชนของทั้ง 10 ประเทศ